คู่มือนักศึกษา
คู่มือนักศึกษา
บทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษา
1. คุณสมบัติของนักศึกษาสหกิจศึกษา
ผู้สมัครเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องมีสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สังกัดสาขาวิชา
ชั้นปีที่ 3 หรือชั้นปีที่ 4เป็นนักศึกษาที่มีระดับคะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA)ไม่ต่ำกว่า 2.00 ในภาคการศึกษาก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่เป็นผู้เคยต้องโทษวินัยนักศึกษา เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และสามารถพัฒนาตนเองได้
ไม่อยู่ในระหว่างถูกพักการศึกษา
ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
จะต้องผ่านการเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาก่อนเท่านั้น
2. หน้าที่ของนักศึกษาสหกิจศึกษาและข้อแนะนำในการปฏิบัติงาน
นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา มีหน้าที่ดังนี้
ต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานกำหนดอย่างเคร่งครัด ได้แก่
1. เข้าร่วมปฐมนิเทศสหกิจศึกษาตามที่ทางที่ประชุมกำหนดก่อนไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ
2. เข้าร่วมการสัมมนา การนำเสนอรายงานสหกิจศึกษาหลังจากครบกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ตามระยะเวลาที่กำหนดติดตามข่าวสารการประกาศตำแหน่งงานและประสานกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางาน เพื่อรับทราบความคืบหน้าในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ใส่ใจในการฝึกฝนและเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่องก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ต้องรายงานตัว ณ สถานประกอบการภายในวันและระยะเวลาที่กำหนดพร้อมหนังสือส่งตัว
ประสานงานอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจำคณะ/สาขาวิชา เพื่อติดต่อส่งเอกสารตามที่กำหนดเวลาในปฏิทินสหกิจศึกษาและให้ข่าวสารการปฏิบัติงานของตนเองกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจำคณะ/สาขาวิชาตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
ตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากพนักงานที่ปรึกษาอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยหรือข้อบังคับของสถานประกอบการโดยเคร่งครัด
หลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งในสถานประกอบการทุกกรณี
หากมีปัญหาในการปฏิบัติงานจะต้องรีบติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา หรือทางศูนย์
สหกิจศึกษาและจัดหางานทันที
3. การสมัครเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
นักศึกษาจะต้องเตรียมชุดของใบสมัครงานสหกิจศึกษาซึ่งประกอบด้วย
ใบสมัครงานสหกิจศึกษาหรือ Co-01 จำนวน 1 ชุด (ดาวน์โหลดจาก website ของศูนย์สหกิจศึกษา
และจัดหางานของสถาบันฯ) โดยปัจุจบันเป็นใบสมัครแบบออนไลน์ นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลให้ครบและบันทึกรูปถ่ายนักศึกษาขนาด 1 นิ้วจำนวน 1 รูป Upload รูปถ่าย ขนาดไฟร์ ไม่เกิน 35 KB
สำเนาใบรายงานผลการศึกษาจากสำนักทะเบียนฯ ฉบับล่าสุดจำนวน 1 ชุด Upload Transcript (PDF) ขนาดไฟร์ไม่เกิน 500 KB
4. การลงทะเบียนเรียนรายวิชาสหกิจศึกษา
นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อ 1 จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาสหกิจศึกษาภายในระยะเวลาที่งานทะเบียนและประมวลผลกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
นักศึกษาจะต้องผ่านการเรียนรายวิชาที่คณะวิชากำหนดจึงจะได้รับการพิจารณาให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสหกิจศึกษาได้
การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาให้เป็นไปตามวิธีการที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
5. ข้อกำหนดในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
สถาบันได้กำหนดภาคการศึกษาเป็นระบบทวิภาคโดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาในแต่ละ
ภาคการศึกษา มีระยะเวลาการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ 4 เดือน (ประมาณ 16 สัปดาห์)
โดยที่คณะวิชาอาจจะจัดภาคการศึกษาสหกิจศึกษาภาคการศึกษา ที่ 1 และ 2 ของปีการศึกษาที่ 4 ก็ได้นักศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน
ในสถานประกอบการ 4 เดือน (ประมาณ 16 สัปดาห์) หรือหากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถไปปฏิบัติงานตาม
ภาคการศึกษาที่สาขาวิชากำหนดได้ จะต้องยื่นคำร้องต่อประธานสหกิจศึกษาของสาขาวิชา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณบดีของคณะวิชา และคณะกรรมการสหกิจศึกษา ทั้งนี้นักศึกษาต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงการไปปฏิบัติงานภายในภาคการศึกษาก่อนที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงานนักศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องมีเวลาปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการครบตามที่ศูนย์สหกิจศึกษากำหนดไว้จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการประเมินผลในรายวิชาสหกิจศึกษา ในกรณีที่นักศึกษามีเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่าที่กำหนดประธานอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาอาจพิจารณาร่วมกับพนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการให้นักศึกษามีสิทธิ์ไม่ได้รับการประเมินผลรายวิชา
นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาสหกิจศึกษาภายในระยะเวลา
ที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯกำหนดมิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา
6. สิ่งที่นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องจัดส่งอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสหกิจศึกษานอกจากจะต้องออกไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว นักศึกษามีหน้าที่จะต้องทำโครงงานหรือรายงานโดยหัวข้อโครงงานหรือรายงานที่จัดทำจะต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจำสาขาวิชาที่ตนเองสังกัด โดยโครงงานหรือรายงานที่จัดทำจะถือเป็นส่วนหนึ่งที่อาจารย์ผู้สอนจะนำไปประกอบการประเมินผลในลำดับต่อไป
นอกจากนั้นนักศึกษาจะต้องส่งรายงานบันทึกการทำงานประจำวันหรือประจำสัปดาห์ หรือ CCC-Co 04
บันทึกสิ่งที่ตนเองได้ปฏิบัติในสถานประกอบการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆในระหว่างการทำงานให้กับอาจารย์
ที่ดูแลรายวิชาสหกิจศึกษาประจำสาขา/ภาควิชาที่ตนเองสังกัดทุกสัปดาห์ ดังนั้นระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานักศึกษาจะต้องส่งเอกสารแบบฟอร์มต่างๆให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ในสาขา/ภาควิชาตนเอง และศูนย์สหกิจศึกษาฯในระยะเวลาที่กำหนดตามปฏิทินการศึกษา
7. การขอลาออกจากงานสหกิจศึกษา
นักศึกษาที่ประสงค์จะลาออกจากการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจะต้องแจ้งความต้องการไปปฏิบัติงานล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาโดยจะต้องแจ้งยืนยันภายใน 2สัปดาห์แรกหลังเปิดภาคการศึกษาหากเลยกำหนดดังกล่าวแล้วจะไม่รับพิจารณาแบบคำร้องของนักศึกษา
นักศึกษาที่ได้แจ้งยืนยันว่าจะไม่ไปปฏิบัติงานจะสามารถแจ้งขอยกเลิกการไปปฏิบัติงานตามที่
แจ้งไว้ได้ โดยจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ก่อนวันสิ้นสุดการจัดหางานแต่ละภาคการศึกษาและบริษัทยังไม่ตอบรับการเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หากเลยกำหนดดังกล่าวจะไม่รับพิจารณาแบบคำร้องของนักศึกษาและนักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานตามที่แจ้งไว้ก่อนจะเริ่มปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นักศึกษาจะสามารถขอลาออกจากการเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา หรือขอเลื่อนการปฏิบัติงานได้เมื่อมีเหตุจำเป็นโดยยื่นคำร้องต่อประธานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของคณะ/ สาขาวิชา และคณบดีที่ตนสังกัดทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุมัติประธานที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของคณะ/สาขาวิชาและคณบดีก่อนที่จะมีการประกาศผลการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อออกปฏิบัติงานในแต่ละภาคการศึกษา
เมื่อประกาศผลการคัดเลือกแล้วนักศึกษาสหกิจศึกษา ทุกคนจะต้องไปปฏิบัติงาน
ณ สถานประกอบการแห่งนั้นจะขอลาออกหรือเลื่อนการไปปฏิบัติงานไม่ได้ยกเว้นในกรณีที่เจ็บป่วยโดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบการพิจารณาเมื่อนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการแล้ว จะขอลาออกหรือเลื่อนเวลาการปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ไม่ได้โดยเด็ดขาดยกเว้นในกรณีเจ็บป่วยหรือมีเหตุฉุกเฉินซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
นักศึกษาที่ลาออกตามข้อที่ 4 หรือ 5 จะหมดสิทธิ์การลงทะเบียนสหกิจศึกษาต่อไป
8. ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากสหกิจศึกษา
ได้รับประสบการณ์วิชาชีพตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา
เกิดการพัฒนาศักยภาพตนเองการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบและมีความมั่นใจ
ที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคตเกิดทักษะการนำเสนองาน (Presentation) ทักษะทางด้านการสื่อสาร (Communication Skill)
และทักษะการปรับตัวในภาวะการทำงานต่างๆมีโอกาสรับการเสนองานจากสถานประกอบการก่อนสำเร็จการศึกษา
เลือกสายงานตรงอาชีพได้เหมาะสมเพราะรู้ความถนัดของตนเองเป็นอย่างดี
ได้รับค่าตอบแทนหรือสวัสดิการจากสถานประกอบการตามสมควร
สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทำงาน
9. สิ่งที่นักศึกษาสหกิจศึกษาควรประพฤติปฏิบัติเมื่อปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ยิ้มแย้มแจ่มใสหรือยกมือไหว้
น้อมรับคำแนะนำ
มีความกระตือรือล้น และขยันทำงาน เช่น ช่วยเหลือพนักงาน หรือบุคลากรในสถานประกอบการอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของสถานประกอบการ
ให้กล่าวคำขอโทษ เมื่อปฏิบัติตนไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด
จดบันทึกสิ่งที่น่าสนใจ
การตรงต่อเวลาของนักศึกษา เช่น ไม่เข้างานสาย
หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ส่วนตัวในขณะกำลังปฏิบัติงาน
แต่งกายสุภาพหรือตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ
ฝึกฝนและเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนี่อง
ควรมีมารยาทในการปฏิบัติงาน เช่น กล่าวขอบคุณและชมเชยผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น
รักษาวัฒนธรรมขององค์กรในสถานประกอบการ
10. สิ่งที่นักศึกษาสหกิจศึกษาไม่ควรทำหรือควรหลีกเลี่ยง
หน้าบึ้งตึง/ไม่ยกมือไหว้
โต้เถียงเพราะคิดว่าไม่ถูกต้อง
รอจนกว่าจะสั่งงาน
ปฏิบัติตามใจตนเอง
แอบนอนหลับ
ทะเลาะวิวาท/ชกต่อย
จดบันทึกนับวันกลับ
ใส่รองเท้าแตะ/กางเกงยีนส์
เลิกงานคนแรก
ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น โทรศัพท์ส่วนตัวในเวลาทำงานสืบค้นข้อมูลทาง Internet ที่ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน
หยุดงานหรือลางานบ่อยโดยไม่มีความจำเป็น
ปัญหาชู้สาว
นินทาผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น