กระบวนการและขั้นตอนสหกิจศึกษา
กิจกรรมก่อนปฏิบัติงาน
- จัดหาสถานประกอบการสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
-
การคัดเลือกนักศึกษาและจำแนกลักษณะงานสหกิจศึกษา รวมทั้งการเตรียมความพร้อมนักศึกษา
ก่อนไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ -
การจับคู่ ( Matching ) ระหว่างสถานประกอบการกับนักศึกษา โดยมีการปฏิบัติเสมือนการสมัครเข้าทำงานจริง
สถานประกอบการมีการพิจารณาจากใบสมัคร หรือการสัมภาษณ์งาน
การเตรียมตัวและการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ
กิจกรรมระหว่างปฏิบัติงาน ( 4 เดือน)
นักศึกษาจะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชาจะทำหน้าที่นิเทศ
การปฏิบัติงานของนักศึกษา อย่างน้อย 1 ครั้ง ระหว่างที่นักศึกษาสหกิจศึกษา และประเมินผลการปฏิบัติงานร่วมกับ
สถานประกอบการตามระเบียบการวัดผลของสถาบันฯ
กิจกรรมหลังการปฏิบัติงาน
1. การประชุมหรือสัมภาษณ์นักศึกษาสหกิจศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในคณะวิชาพร้อมทั้งการจัดส่งรายงาน
2. การจัดนำเสนอผลงานในภาพรวมของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
กิจกรรมก่อนปฏิบัติงาน
1. การจัดหาสถานประกอบการสำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ดำเนินการจัดหาสถานประกอบการให้กับนักศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ออกสหกิจศึกษา
โดยประสานกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทที่เป็นสมาชิกเครือข่ายหอการค้า
ญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นและบริษัทร่วมชาติที่ให้การสนับสนุนสถาบันฯ เรื่องทุนการศึกษา และอุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อสร้าง
เครือข่ายความร่วมระหว่างสถาบันฯ กับสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยทางสถาบันฯได้ดำเนินการจัดส่งแบบเสนองาน
สหกิจศึกษาให้กับล่วงหน้า 1 ภาคการศึกษา เพื่อให้ทางสถานประกอบการตอบรับการรับนักศึกษา รวมทั้งแจ้งรายละเอียด
เกี่ยวกับงาน และคุณสมบัติที่นักศึกษาที่ต้องการรับ เข้าสหกิจศึกษากลับมายังสถาบันฯ จากนั้นทางสถาบันฯจะดำเนินการคัดเลือก
นักศึกษาและจำแนกงานที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและสถานประกอบการ
2. การคัดเลือกนักศึกษาและจำแนกลักษณะงานสหกิจศึกษา รวมทั้งการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไป
ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
เพื่อให้การเตรียมการในการเข้าปฏิบัติงานของนักศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และนักศึกษาทุกคนมีคุณสมบัติพร้อมที่
จะไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ คณะกรรมการบริหารศูนยสหกิจศึกษาและจัดหางาน และคณะวิชาได้กำหนดระเบียบการ
ที่เกี่ยวกับการสมัครเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาไว้ดังนี้
2.1 การรับสมัครเข้าโครงการสหกิจศึกษา กำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทุกสาขาวิชายื่นใบสมัครเข้าเป็นนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษา
ตามระยะเวลาที่ศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานกำหนด โดยการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นความรับผิดชอบ
ของศูนย์สหกิจศึกษาฯร่วมกับทางคณะวิชาโดยยึดหลักการและเงื่อนไขตามระเบียบสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ว่าด้วยสหกิจศึกษา พ.ศ. 2552
2.2 การคัดเลือกและจำแนกสภาพนักศึกษาสหกิจศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่นเล็งเห็นว่า
งานสหกิจศึกษามีผลดีต่อนักศึกษาที่จะได้รับประสบการณ์วิชาชีพที่มีคุณค่า และความได้เปรียบในการแจ้งงานภายหลังการสำเร็จ
การศึกษาในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งทางสถาบันฯมีนโยบายที่จะให้นักศึกษาในทุกสาขาวิชา ได้ผ่านการเรียนหลักสูตรสหกิจศึกษา
มากที่สุดนักศึกษาทุกคนในคณะวิชาจะต้องลงทะเบียนและเรียนผ่านรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาก่อนจึงจะสามารถเลือกเรียน
หลักสูตรสหกิจศึกษาภายในระยะเวลาที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯประกาศให้ทราบ หลังจากเลือกหลักสูตรแล้ว การตัดสินใจลาออกจาก
หลักสูตรสหกิจศึกษาจะกระทำโดยการยื่นคำร้องขออนุมัติจากคณบดีนักศึกษาที่จะเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งหมด
ต้องส่งใบสมัครเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาพร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ โดยทางศูนย์สหกิจศึกษาฯ จะรวบรวมแบบ
แจ้งรายละเอียดการเข้าร่วมงานสหกิจศึกษา มอบให้คณะวิชาพิจารณาให้นักศึกษาเรียนในหลักสูตรสหกิจศึกษา
การพิจารณาของภาควิชาดังกล่าวจะถือว่าเป็น ที่สิ้นสุด และนักศึกษาจะถูกขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษา
การปลี่ยนแปลงจะสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องต่อคณบดี และได้รับพิจารณาอนุมัติจากคณบดีที่สังกัดแล้ว
2.3 การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนออกปฏิบัติงาน ( การเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา)
สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่นได้ดำเนินการจัดรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาเพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา
ต้องเรียนผ่านรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่องล่วงหน้า 1ภาคเรียนทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียม
ให้นักศึกษามีความพร้อมสูงสุดก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ โดยกำหนดรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาเข้าใน
หลักสูตรสหกิจศึกษาจำนวน 1 หน่วยกิต มีหัวข้อรายละเอียดการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้
- หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษา
- ระเบียบและข้อปฏิบัติตนเกี่ยวกับสหกิจศึกษา
- ทักษะการเขียนจดหมายสมัครงาน
- การสมัครงานและการเลือกสถานประกอบการ
- เทคนิคการสัมภาษณ์งาน
- ความปลอดภัยในโรงงาน
- ระบบการบริหารงานคุณภาพ
- มารยาทและการพัฒนาบุคลิกภาพ
- การใช้เครื่องใช้สำนักงานและระบบเอกสาร
- การจัดทำรายงานโครงงานสหกิจศึกษา
- การจัดการเรียนเสริมทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขา
นักศึกษาที่ไม่ผ่านรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา จะไม่ได้รับการพิจารณาให้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสหกิจศึกษา
และต้องออกจากการเป็นนักศึกษาหลักสูตรสหกิจศึกษาโดยปริยาย นักศึกษาที่เข้าเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาจะได้รับทราบ
ระเบียบข้อปฏิบัติตนในการเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาตั้งแต่ในสัปดาห์แรกและต้องปฏิบัติตนตามข้อกำหนดตลอดระยะเวลา
ในการเรียน และการเข้าเรียนรายวิชาตรียมสหกิจศึกษาจะมีการแนะนำการปฏิบัติตนในสถาน ประกอบการ ชี้แจงข้อข้องใจต่างๆแก่
นักศึกษา ซึ่งนักศึกษาที่ผ่านรายวิชาเตรียสหกิจศึกษาจะ ถือว่านักศึกษามีความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะทางด้านวิชาการ
ระเบียบวินัย และบุคลิกภาพ หากมีนักศึกษาผู้ใดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะไปปฏิบัติงาน อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะแจ้งผล
ให้นักศึกษาทราบ เพื่อระงับการปฏิบัติงานทันที
3. การจับคู่ ( Matching ) ระหว่างสถานประกอบการกับนักศึกษา
นักศึกษาสามารถเลือกสมัครงานได้ตามงานที่ได้รับการเสนอจากสถานประกอบการ ซึ่งได้แจ้งข้อมูลไว้บน Website ของ
สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางาน โดยที่นักศึกษาจะได้รับการปฏิบัติ เสมือนการไปสมัครเข้าทำงานจริงกับสถาน ประกอบการนั้นๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1 นักศึกษาส่งใบสมัครเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯ โดยสามารถตรวจสอบของข้อมูลของ
สถานประกอบการได้บน Website ของสถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่นหรือติดต่อกับทางศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางาน
3.2 นักศึกษาสามารถเลือกสถานประกอบการที่ต้องเข้าสหกิจศึกษาเรียงตามลำดับที่ต้องการ ได้จำนวน 3 บริษัท โดยกรณีที่
ไม่สถานประกอบการลำดับที่ 1 ทางศูนย์สหกิจฯ จะทำการเลือกสถานประกอบลำดับที่เลือกรองลงมาให้กับนักศึกษา
3.3 คณะวิชาจะทำการจับคู่ ( Matching ) นักศึกษาที่สมัครเข้าร่วมเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษากับสถานประกอบการในสัปดาห์ ที่ 4 ของการเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาเพื่อคัดเลือกในเบื้องต้นแล้วจะจัดส่ง ข้อมูลให้กับทางศูนย์สหกิจฯ เพื่อจัดส่งใบสมัครของนักศึกษาให้กับสถานประกอบการ
3.4 สถานประกอบการจะคัดเลือกนักศึกษาไปปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากใบสมัครอย่าง เดียว หรือ อาจจะสัมภาษณ์นักศึกษาด้วย ซึ่งเมื่อนักศึกษาส่งใบสมัครแล้วขอให้ตรวจสอบประกาศการสัมภาษณ์งานเป็นระยะๆ หลังจากนั้นสถานประกอบการจะส่งผลการคัดเลือกนักศึกษาให้โครงการสหกิจศึกษา รับทราบ
3.5 ศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานจะร่วมกับคณะวิชา ในการจัดนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยจะนำผลการคัดเลือกนักศึกษาของสถานประกอบการ และลำดับความต้องการของนักศึกษามาจับเข้าคู่กัน (Matching) โดยจะพยายามจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายมากที่สุด จึงจะประกาศผลการคัดเลือกให้นักศึกษาทราบ ในกรณีที่นักศึกษาไม่มีรายชื่อในประกาศผลการคัดเลือกให้รีบติดต่อศูนย์สหกิจ ศึกษาและจัดหหางานโดยด่วน เพื่อจัดหาสถานประกอบการให้ใหม่โดยเร็วที่สุด ศูนย์สหกิจศึกษาฯจะประกาศผลการคัดเลือกนักศึกษาตามวันที่กำหนด
3.6 ค่าตอบแทนและสวัสดิการจากสถานประกอบการ ตามปกติสถานประกอบการจะจ่าย ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักศึกษาในอัตราที่
สถานประกอบการกำหนด อย่างไรก็ตามหน่วยงานราชการบางแห่งอาจจะให้ค่าตอบแทนที่ต่ำ หรือไม่มีค่าตอบแทน กรณีที่สถานประกอบการจัดที่พักให้นักศึกษา ถือว่าเป็นสวัสดิการเพิ่มเติม หากนักศึกษาไม่สะดวกในเรื่องที่พักที่จัดให้
ให้นักศึกษาหาที่พักเองได้ แต่จะนำมาเป็นข้ออ้างในการไม่ไปปฏิบัติงานหรืองดปฏิบัติงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ไม่ได้ ในกรณีที่
สถานประกอบการไม่จัดที่พักให้ ขอให้นักศึกษาประสานกับเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา เพื่อติดต่อฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการ
ให้ช่วยจัดหาที่พักที่ปลอดภัยและเหมาะสมให้แก่นักศึกษา เช่น พักรวมกับบุคลากรของสถานประกอบการ หรือพักในละแวกที่
พนักงานพักอยู่ และมีรถของสถานประกอบการรับส่งโดยสะดวก เป็นต้น
4. การเตรียมตัวและการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ
นักศึกษาต้องเดินทางถึงสถานประกอบการในวันที่กำหนด ทั้งนี้ทางศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานจะดำเนินการประสานงาน
ให้สถานประกอบการทราบล่วงหน้า หากนักศึกษาต้องการเข้าปฏิบัติงานก่อนกำหนดหรือเกิดเหตุขัดข้องในระหว่างเดินทาง
ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ตามกำหนดเวลา โปรดติดต่อศูนย์สหกิจศึกษาฯทางโทรศัพท์โดยด่วนที่สุด
และขอได้โปรดหลีกเลี่ยงการเดินทางไปถึงสถานประกอบการในวันหยุด เพราะจะไม่สะดวกในการติดต่อและหาที่พัก
เมื่อนักศึกษาออกไปปฏิบัติงานกับสถานประกอบการนักศึกษาจะมีพนักงานที่ปรึกษาคอยดูแลและชี้แนะนักศึกษา
ซึ่งนักศึกษาจะต้องตั้งใจปฏิบัติงาน เชื่อฟัง และให้ความเคารพพนักงานที่ปรึกษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีในระหว่างปฏิบัติงาน
กิจกรรมระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
เพื่อให้การประสานงานระหว่างนักศึกษาและเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อยนักศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสาร
ที่จำเป็นให้กับศูนย์สหกิจศึกษาฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
1.ในระหว่างสัปดาห์แรกของการปฏิบัติงาน นักศึกษาสหกิจศึกษาจะต้องส่งแบบแจ้งรายละเอียดที่พักระหว่างการปฏิบัติงาน
สหกิจศึกษา และแบบแจ้งรายละเอียดงานตำแหน่งงานและพนักงานที่ปรึกษา รวมทั้งแจ้งสถานที่ปฏิบัติงาน (ชื่อโรงงาน-ที่อยู่)
ชื่อ Job Supervisorหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสารที่จะติดต่อกับนักศึกษาและ Job Supervisor
2. ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 นักศึกษาจะต้องส่งแบบแจ้งแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อแจ้งแผนการปฏิบัติงาน (Work Plan) มายังศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางาน
3. ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของการปฏิบัติงาน นักศึกษาจะต้องจัดส่งแบบแจ้งโครงร่างรายงานการปฏิบัติงานเพื่อให้อาจารย์ที่ ปรึกษา
สหกิจศึกษาได้ตรวจสอบและให้คำแนะนำ นักศึกษาอาจจะเริ่มเขียนรายงานได้ทันทีหากอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
ไม่ได้แจ้งแก้ไขหัวข้อหรือเค้าโครงร่างรายงานทั้งนี้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจ ศึกษาอาจจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมระหว่างการไปนิเทศงาน
ก็ได้ในกรณีที่พนักงานที่ปรึกษาไม่มีเวลาเขียนข้อมูลในแบบฟอร์มต่างๆ ให้นักศึกษาอาจจะแก้ปัญหาโดยการสอบถามข้อมูล
ด้วยวาจา แล้วเป็นผู้เขียนข้อมูลที่รับด้วยตนเอง จากนั้นนำไปให้พนักงานที่ปรึกษาตรวจสอบและลงนามรับทราบหากมีข้อขัดข้อง
ประการใดที่ทำให้ไม่สามารถจัดส่งเอกสารได้ตามกำหนดจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาทางโทรสารหรือจดหมายทันที
4. นักศึกษาจะต้องส่งรายงานที่เสร็จสมบูรณ์ให้แก่พนักงานที่ปรึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และจะต้องแก้ไข
ตามพนักงานที่ปรึกษาแนะนำให้เสร็จเรียบร้อย ระหว่างปฏิบัติงานนักศึกษาจะต้องปฏิบัติตนตามกฏระเบียบของการบริหารบุคคล
ของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัดทุกประการ เช่น การแต่งกาย เวลาการเข้า-ออก วันหยุด และวันลา เป็นต้น
5. การนิเทศงานสหกิจศึกษา
ศูนย์สหกิจศึกษาและจัดหางานได้จัดให้มีการนิเทศงาน โดยคณาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจำคณะวิชาที่มีนักศึกษาไปปฏิบัติงาน
โดยอาจจะมีเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาร่วมเดินทางไปนิเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ระหว่างที่นักศึกษาในสังกัดภาควิชาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ณ สถานประกอบการโดยมีวัตถุประสงค์ของการนิเทศงานสหกิจศึกษา ดังนี้
- เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักศึกษาที่กำลังปฏิบัติงานโดยลำพัง ณ สถานประกอบการซึ่งนักศึกษาจะต้องอยู่ห่างไกล
จากครอบครัว เพื่อน และคณาจารย์
- เพื่อดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา
- เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน ทั้งปัญหาด้านวิชาการและปัญหาการ
ปรับตัวของนักศึกษาในสภาวะการทำงานจริง
- เพื่อขอรับทราบและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เกี่ยวกับแนวความคิดการมาปฏิบัติงานของนักศึกษาในระบบสหกิจศึกษาตลอดจน
การแลกเปลี่ยนความก้าวห้นาทางวิชาการซึ่งกันและกัน
- เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน และรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันฯ
ขั้นตอนการนิเทศงานสหกิจ ประกอบด้วย
-
ศูนย์สหกิจศึกษาฯ จะประสานงานกับประธานอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะวิชา เพื่อกำหนดแผนการนิเทศงานของคณะวิชาทั้ง
ภาคการศึกษา โดยนักศึกษาทุกคนที่ไปปฏิบัติงานจะต้องได้รับการนิเทศงานอย่างน้อย 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติงาน -
ศูนย์สหกิจศึกษาฯประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อนัดหมายวัน และเวลาที่ทางอาจารย์ ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะเดินทาง
ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการ -
ศูนย์สหกิจศึกษาฯ รวบรวมแฟ้มประวัตินักศึกษาพร้อมรายละเอียดสถานประกอบการส่งมอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาก่อนวันเดินทาง
1-2 วันทำการ -
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาจะเดินทางไปนิเทศงานตามกำหนดนัดหมาย โดยมีหัวข้อในการนิเทศงาน คือ ตรวจสอบคุณภาพงาน
และหัวข้อรายงานที่สถานประกอบการมอบหมาย ติดตามผลการปฏิบัติงานและความก้าวหน้าในการจัดทำรายงานของนักศึกษา
ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งด้านวิชาการและการพัฒนาตนเองของนักศึกษา -
ภายหลังการเดินทางกลับอาจารย์ที่ปรึกษาประเมิณผลการนิเทศงานทั้งสถานประกอบการและนักศึกษา ตามแบบประเมินผลและ
ส่งมอบคืนศูนย์สหกิจศึกษาฯ